เทคนิคทำข้อสอบเนติยบัณฑิตให้ได้คะแนนดีก่อนลงสนาม

Last updated: 3 พ.ค. 2568  |  17 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคนิคทำข้อสอบเนติยบัณฑิตให้ได้คะแนนดีก่อนลงสนาม

เทคนิคทำข้อสอบเนติให้ได้คะแนนดี


รู้เกมก่อนลงสนามผังให้คะแนนของผู้อ่านกระดาษคำตอบ

เกณฑ์ผู้ตรวจ กำหนดให้ “ข้อสอบหนึ่งข้อเท่ากับ 10 คะแนนเต็ม” และมีกรอบตรวจ 4 ด้านหลัก

1. จับประเด็น ตั้งปัญหา (20%)
2. หลักกฎหมาย ฎีกา (30%)
3. วินิจฉัยเชื่อมข้อเท็จจริง (40%)
4. สรุปผล การจัดหน้า และลายมือ (10%)

ข้อสังเกต ทำไมบางคน “ถูกธง” แต่ได้แค่ 1–2 คะแนน? เพราะวางโครงเรียบเรียงไม่ครบ 4 ด้านหรือไม่ผูกข้อเท็จจริงกับองค์ประกอบไม่ได้

เตรียมตัวระยะยาววางแผน 12 สัปดาห์ก่อนสอบ

1. สองเดือนก่อน สรุป mind-map แต่ละมาตรา และฎีกาหลักที่ออกสอบบ่อยๆ
2. หนึ่งเดือนก่อน ซ้อมเขียนเต็มข้อ และจับเวลา 30 นาที
3. สัปดาห์ท้าย จำลองการสอบ 5 ชั่วโมงเต็มวัน และเว้นวัน
4. สามวันสุดท้าย ทบทวนเฉพาะจุดพลาดบ่อยๆ-และพักผ่อนให้เพียงพอ

สูตรเดินเกม 30 นาทีต่อข้อไม่พลาดกรอบเวลา

1. อ่านโจทย์ 2 รอบ โดยรอบแรกจับ “คำสั่ง” ให้ได้ว่าโจทก์ถามอะไร และรอบสองขีดเส้นใต้ข้อเท็จจริงที่สำคัญในโจทก์
2. ร่างสี่หัวข้อจากโจทก์ ได้แก่ ประเด็น กฎหมาย วิเคราะห์ และผลลัพธ์ ไว้ข้างกระดาษคำถาม
3. เขียนตามเวลาหากเกิน 32 นาทีให้ย้ายไปทำข้ออื่นทันที

กลเม็ดภาษาการเขียนอย่างไรให้ “อ่านง่ายใด้คะแนนคล่อง”

1. แบ่งย่อหน้าใหญ่ทุก 4–5 บรรทัด
2. ขึ้นหน้ากระดาษใหม่ เมื่อเปลี่ยนข้อ
3. เขียนมาตราและฎีกา

เขียนเลขมาตราก่อน เช่น “มาตรา 288 ประมวลกฎหมายอาญา กำหนดว่า…” ถ้าอ้างฎีกาให้บอก “หลัก” ที่วางไว้ เช่น “ฎีกาที่ 1234/2562 วางหลักว่า ‘การใช้มีดปลายแหลมเจตนาฆ่า’ เป็นพฤติการณ์ฯ” เป็นต้น

เทคนิคการผูกข้อเท็จจริงเข้ากับองค์ประกอบกฎหมาย

เขียนข้อเท็จจริงก่อนบอกว่าครบองค์ประกอบของกฎหมายอย่างไรแล้วจึงสรุปผล

เช่น ก. แทง ป. 3 แผลลึกถึงอวัยวะสำคัญ (ข้อเท็จจริง) จึงเป็นการกระทำอันตรายถึงชีวิต (องค์ประกอบกฎหมาย) จึงเข้าความผิดฐาน มาตรา 288 (ผล)

ทำแบบนี้ทุกองค์ประกอบ ผู้อ่านจะเห็นการโยงเหตุผลชัดเจนโดยให้ระบุ “ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร” 

คุมเวลาไม่ให้ยืดเยื้อ 

1. เขียนไป 20 นาทีแล้วยังอยู่แค่ “กฎหมาย” วิธีแก้ให้ขีดเส้นแนวตั้งแดงเล็ก ๆ ที่ขอบกระดาษเตือนตัวเองให้ย้ายไปในส่วนของการ “วินิจฉัย”
2. ลายมือเริ่มหวัด วิธีแก้ให้ลดความเร็วลงประมาณ 10 % และเพิ่มการกดปากกาจะช่วยให้ลายมือคมขึ้นแม้จะเขียนเร็ว
3. หากเริ่มจำเลขมาตราไม่ได้ หรือไม่มั่นใจ วิธีแก้ให้เว้นที่ว่างไว้ก่อน ทำสัญลักษณ์ วงกลมเล็ก ๆ ไว้ แล้วค่อยกลับมาเติมตอนท้าย (ไม่ควรเขียนเลขมาตราถ้าไม่มั่นใจ)

ตัวอย่างการวินิจฉัย
จงวิเคราะห์ว่าจำเลย ก. มีความผิดใด
(1) ปัญหาที่ต้องวินิจฉัย
    ก. มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือไม่
(2) บทกฎหมายและฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288   “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น"
ฎีกา 1234/2562    "ถือว่าแผลแทงทะลุปอดเป็น"

(3) การวินิจฉัย
ข้อเท็จจริง ก. แทง ป. สามครั้ง บริเวณทรวงอก
องค์ประกอบ (ก) การกระทำอันตรายถึงชีวิตครบองค์ประกอบ
องค์ประกอบ (ข) ประสงค์ต่อผล เห็นได้จากจุดสำคัญ
จึงเข้าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288  ครบทุกองค์ประกอบ

(4) ผลแห่งการวินิจฉัย
    ก. ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 


สรุปจำง่ายเพียง 7 คำ
อ่าน จับประเด็น ร่าง เขียนกฎหมาย โยงข้อเท็จจริง สรุป ตรวจ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้